ปุ๋ยละลายช้า

ปัญหา

เป็นที่รู้กันว่า ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 หรือ ปุ๋ยไนโตรเจน เป็นปุ๋ยสูญเสียเยอะมาก เพียงแค่เปิดถุงก็ระเหิด และละลายเมื่อเจอน้ำ

การสูญเสียไนโตรเจนจากปุ๋ยูเรียสังเกตุได้ด้วยตาเปล่า เมื่อเราหว่านปุ๋ยในนา ข้าวจะเขียวเข้มในวันถัดไป แสดงถึงการได้รับไนโตรเจนอย่างรวดเร็วให้หลังอีก 7 วันก็จะคล่อยๆคลายความเขียว คือความเข้มข้นของธาตุอาหารลดลง และเมื่อหมดก็จะเริ่มออกสีเหลือง แสดงถึงการที่ข้าวอยู่ในสภาวะที่ขาดไนโตรเจนแล้ว

งานวิจัยต่างชี้ไปในทางเดียวกันว่า เราใช้ประโยชน์จากยูเรียได้น้อยกว่าการสูญเสียเสียอีก

ยกตัวอย่างเช่น เราใส่ปุ๋ยยูเรีย 100 บาทในนา ข้าวจะใช้ประโยชน์ได้เพียง 30-40 บาท เท่านั้น เงินที่เหลือสูญเสียไปกับการระเหิด ละลาย และซึมไปกับน้ำที่ลึกเกินกว่ารากต้นข้าวจะลงไปถึง

หลักในการแก้ปัญหา

นักวิยาศาสตร์พยายามหาวัสดุที่จะมาเคลือบเม็ดยูเรีย เพื่อลดการสัมผัสกับอากาศและน้ำโดยตรง เพื่อเป็นการชะลอการระเหิด และ ละลาย ซึ่งเรียกว่า ปุ๋ยละลายช้า

ซึ่งอาจจะเคลือบด้วย แว็กซ์จากเทียน โพลิเมอร์ เรซินสังเคราะห์ หรือ น้ำมันบางชนิด ซึ่งมีลักษณะการละลายที่ถูกกระตุ้นด้วยอุณหภูมิ หรือ ความชื้น ที่แตกต่างกันไป

ความแตกต่าง

เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ปุ๋ยยูเรีย ธรรมดา กับ ปุ๋ยยูเรียที่เคลือบสารเคลือบปุ๋ย ละลายช้า จะเห็นด้วยตาเปล่าได้ว่า

  • เมื่อหว่านปุ๋ย ยูเรียที่เคลือบจะปลดปล่อยไนโตรเจนช้ากว่า ทำให้ต้นข้าวค่อยๆเขียว ไม่เขียวพุ่ง ไม่เขียวปี๋ แต่จะเขียวได้นานกว่า 10 วันเป็นอย่างน้อย
  • การที่ข้าวเขียวปี๋เป็นการเร่งการขยายเซลล์ ทำให้ต้นโตแบบอ่อนแอ เป็นการเรียกแมลงและโรคพืชอย่างดี ความเขียวที่เป็นอันตราย
  • การที่ข้าวเขียวนานกว่า 10 วัน เสมือนการมีอาหารให้กินตลอด ข้าวได้มีกระบวนการในการสะสมแป้งโดยไม่ชะงัก ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น

ทำปุ๋ยละลายช้าเอง

เพียงแค่เอาปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยสูตรที่มีส่วนผสมของไนโตรเจน 1 กระสอบ 50 กิโลกรัม ผสมกับ โพลิเมอร์-อาร์ สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย ขนาด 5 กิโลกรัม ทำตาม วิธีผสม ทิ้งไว้ 1 คืนก่อนหว่าน หรือติดต่อ ศูนย์เคลือบปุ๋ย เหยี่ยวดำ ใกล้บ้าน ก็จะได้ปุ๋ยยูเรียสูตรละลายช้าไว้ใช้เองแล้วหละ

โพลิเมอร์-อาร์ คือ อะไร  l  งานวิจัยสารโพลิเมอร์-อาร์

X