ปุ๋ยเป็นเหตุ
อ้อย พืชเศรษฐกิจของไทยและของโลก ที่ผลผลิตต่อไร่ถูกจำกัดด้วย ลักษณะทางกายภาย และปฏิกิริยาทางเคมีของธาตุอาหารไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 หรือ แอมโมเนียมซัลเฟท 21-0-0 ที่สูญเสียง่ายด้วยการระเหิด และละลาย
ยิ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากขึ้นตามความต้องการของพืช โดยหวังจะเพิ่มผลผลิต แต่กลับจะทำให้ สิ้นเปลืองมากขึ้น (อ้างอิงจากงานวิจัย)
ดังนั้น หัวใจของการเพิ่มผลผลิตอ้อย คือการบริหารจัดการธาตุอาหารไนโตรเจนให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด หรือสูญเสียน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
งานวิจัยมากมายทั้งใน และต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า อ้อยต้องการไนโตรเจนมากในช่วง 180 วันแรก โดยแบ่งเป็นช่วง
0-60 วัน เพื่อการสร้างยอด และ ใบ
61-90 วัน เพื่อการสร้างหน่อและแตกกอ
91-180 วัน เพื่อการขยายลำต้น
หลังจากนั้น ความต้องการไนโตรเจนยังมีอยู่แต่ในปริมาณที่ลดลง
การใส่ปุ๋ยรองพื้นซึ่งมีสัดส่วนของไนโตรเจน เช่น 16-8-8 หรือ 15-15-15 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และฝังกลบพร้อมท่อนพันธุ์ ช่วยให้อ้อยได้รับธาตุอาหารอย่างสมบูรณ์ในช่วงต้น ส่งผลให้การแตกยอดและใบ รวมไปถึงการแตกกอในเบื้องต้นเป็นไปด้วยดี (อ้างอิงงานวิจัย) การเพิ่มปริมาณไนโตรเจนยิ่งช่วยให้การแตกกอในช่วงแรกมากขึ้นอีกด้วย ถือเป็นการตอบสนองที่ดีต่อไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้น
สาเหตุ พี่กินน้อง
แต่ด้วยลักษณะทางเคมีของธาตุอาหารไนโตรเจนที่ถูกฝังกลบในดินทราย ประกอบกับความชื้นในดินเป็นตัวเร่งการละลาย ทำให้ธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อการแตกหน่อ และขยายลำต้น จึงเป็นต้นเหตุของหน่อที่แตกมาแล้วฝ่อไป (อาการพี่กินน้อง) ลำต้นที่เล็ก เตี้ย ไม่สม่ำเสมอ
(อ้างอิงงานวิจัย) การทดลองเพิ่มปริมาณไนโตรเจนพร้อมปลูกสองเท่าของคำแนะนำ (N = 15%, P = 7.5%, K = 7.5% ต่อไร่) ผลการศึกษาพบว่าความสูงและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำอ้อยไม่มีความแตกต่างทางสถิติ อย่างไรก็ตามที่อ้อยอายุ 4 เดือน ส่งผลให้จำนวนต้นต่อกอและปริมาณคลอโรฟิลล์สูงกว่า โดยให้ผลผลิต (9.08 ตันต่อไร่) และจำนวนลำต่อไร่ (14,824 ลำต่อไร่) สูงที่สุดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
การเพิ่มไนโตรเจนเป็นสองเท่าไม่ได้เพิ่มผลผลิตเป็นสองเท่า
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า
- ไนโตรเจนมีผลต่อการขยายจำนวนต้นต่อกอจริง ในช่วง 120 วันแรก
- การเพิ่มไนโตรเจนเป็นสองเท่าเพิ่มผลผลิตจากค่าเฉลี่ยทั่วประเทศเพียง 25%-30% แสดงถึงการสูญเสียไนโตรเจนที่มากขึ้น